Monday, June 27, 2011

ต่อ...บทที่ 1 โลกานุวัตร กำเนิดทุนนิยม [กลับรายการหลัก] 2/2

จากสงครามเย็นสู่ การล่มสลายของรัฐสวัสดิการ สงครามเย็น เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ระหว่งกลุ่มประเทศโลกเสรี (อเมริกา อังฤษ ฝรั่งเศส) กับกลุ่มประเทศโลกสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ (สหภาพโซเวียต จีน) (4) จุดที่เป็น ดุลอำนาจแห่งความกลัว คือ การป้องกัน การแผ่ขยายลัทธิสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ซึ่งฝ่ายโลกเสรีเชื่อว่า คอมมิวนิสต์จะทำลายระบบทุนนิยม เป็นเหตุให้เกิดองค์กรต่อต้านคอมมิวนิสต์หลายองค์การ เช่น องค์การ NATO (ป้อมปราการด้านยุโรป) องค์การ SEATO (ป้อมปราการด้านเอเชียอาคเนย์) องค์การ ANZUS (ป้อมปราการด้านมหาสมุทธแปซิฟิกใต้ในขณะเดียวกันที่กลุ่มประเทศสังคมนิยม ก็ก่อตั้งองค์การ สนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw pact) ขึ้นเพื่อป้องกันตัวเอง คลื่นสงครามเย็นลูกที่ 1 ได้อ่อนกำลังลงพร้อมกับการถดถอยในการพัฒนาทุนในกลุ่มปาะเทศสังคมนิยม ขณะเดียวกันที่กระแสทุนนิยมโลก กลับพุ่งแรงขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980 สร้างความสงสัยใหักับประชาชนกลุ่มประเทศสังคมนิยมว่า ระบบสังคมนิยมนี้จะช่วยให้ชีวิตของเขาดีขึ้นจริงหรือ ทั้งที่ภาวะเศรษฐกิจกลับทรุดลงทุกปี ในที่สุดคลื่นสงครามเย็นลูกที่ 1 ก็สิ้นสุดลงพร้อมกับการล่มสลาย ของสหภาพโซเวียต และระบบรัฐสวัสดิการสังคมนิยมไม่ทันที่คลื่นสงครามเย็นลูกที่1 จะจางหายไป ก็เกิดคลื่นสงครามเย็น ลูกที่ 2 ขึ้นอีก ภายหลังสงคราม อิรักกับอิหร่าน โดยที่อเมริกาเป็นคู่ปรับ กับกลุ่มประเทศอิสลาม กลุ่มประเทศอิสลาม จนกระทั่งไฟสงครามได้ปะทุขึ้น ในคราวสงคราม อ่าวเปอร์เซีย ให้ชาวโลกได้เห็น คลื่นสงครามเย็นลูกแรก ขัดแย้งกันด้วยอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ แต่ลูกคลื่นที่สองขัดแย้งกันด้วย ลัทธิศาสนา และความเป็นชาตินิยม ซึ่งถือว่าร้ายแรงยิ่งกว่า
การสลาย รัฐสวัสดิการของนางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ แห่งอังกฤษ และการสลาย ระบบเศรษฐกิจแบบ รวมศูนย์อำนาจ จากรัฐบาลกลาง สู่ท้องถิ่น ของนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ แห่งสหภาภาพโซเวียต ได้กลายมาเป็นต้นแบบให้แก่ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกปฏิบัติตาม
ระบบรัฐสวัสดิการในรัสเซีย ได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อราว ปี ค.ศ. 1917 มีหลักการสำคัญคือรัฐต้องเลี้ยงดู หรือให้ประกันทางสังคมแก่ประชาชน เพื่อเป็นการทดแทนแรงงานที่พวกเขาสร้างให้แก่รัฐ ในปี ค.ศ. 1978 จีน เริ่มนำระบบทุนนิยมเข้าไปใช้ ทำให้คอมมูนกว่า 50,000 แห่ง ต้องปิดตัวเองลง และให้ประชาชน มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมากขึ้น เปิดกิจการการซื้อหายหุ้น และกิจการการให้เช่า ปี ค.ศ. 1988 ประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ ได้ประกาศยกเลิก ระบบนารวม พร้อมกับ ให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ ในที่ดินมากขึ้น
ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1979 - 1989 นางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ได้ทำการผ่าตัดระบบรัฐสวัสดิการในอังกฤษ ด้วยการโอนกิจการรัฐวิสาหกิจเกือบทุกประเภทให้เป็นของเอกชน เช่นการไฟฟ้า การประปา การรถไฟ การไปรษณีย์ เหมืองถ่านหิน และป่าไม้ เป็นต้น
การสลายรัฐสวัสดิการ คือ การย้ายโอนอำนาจ การดำเนินการ จากรัฐบาลกลาง มาเป็นของเอกชน จากบ้านสวัสดิการ มาเป็นบ้านที่มีเจ้าของเป็นกรรมสิทธิ์ จากการรอรับ การรักษาจากรัฐ มาเป็นการเลือก ที่จะเข้ารับการักษา จากภาคเอกชน จากรัฐเป็นผู้กำหนดนโยบายการผลิตและการตลาด มาเป็นการเปิดตลาดเสรี จากการรับสวัสดิการจากรัฐแต่เพียงอย่างเดียว มาเป็นรับงานมาทำมากขึ้น จากลัทธิรวมหมู่ มาเป็นลัทธิปัจเจกชน (Individualism) จากรัฐผูกขาด มาเป็นการแข่งขันเสรี จากอุตสาหกรรมโดยรัฐ มาเป็นบริษัทเอกชน จากเพิ่มภาษี มาเป็นการลดภาษี
รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยม กับแบบเสรีทุนนิยม นั้น มีความแตกต่างกันตรงที่ รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยม ถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะพึงตอบแทนต่อประชาชน ที่ทำงานให้รัฐ เพื่อให้เขาไม่ต้องเสี่ยงภัยในความอดอยาก และขาดแคลนที่อยู่อาศัย ทำให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจหยุดชงัก เนื่องจากกรรมกรขาดแรงจูงใจ (เพราะไม่มีสิ่งล่อใจให้เกิดความขี้โลภ) ในการทำงาน หรือคิดค้นประดิษฐกรรมใหม่ ๆ เพราะถึงอย่างไรก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในผลผลิตส่วนเกิน
ส่วนรัฐสวัสดิการแบบเสรี เป็นสวัสดิการของรัฐที่อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการประกอบธุรกิจ และความเป็นอยู่ที่สุขสบายอยู่แล้วให้สุขสบายยิ่งขึ้น ธุรกิจรัฐสวัสดิการสร้างผลกำไรจากการลงทุนได้มากกว่า นั่นหมายถึงว่า การบริโภคก็ย่อมมีมากขึ้นด้วย (เป็นยุคทอง แห่งความฟุ้งเฟ้อ - Mass consumption) ด้วยความโลภของมนุษย์ ที่ต้องการเสพความสะดวกสบายยิ่ง ๆ ขึ้น เมื่อรัฐเปิดโอกาส ให้เอกชนเข้าดำเนินกิจการ ด้านสวัสดิการ จึงไม่มีเอกชนคนใดจะปฏิเสธ กลับได้รับการยอมรับมากขึ้น
สาเหตุแห่งการล่มสลายของระบบรัฐสวัสดิการสังคมนิยม
1. อิทธิพลของลัทธิทุนนิยมระดับโลก (Glovbalialism)
2. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ทำให้โลกทัศน์ของชาวไร่ชาวนา และกรรมกร เปลี่ยนไป ได้รับการกระตุ้นมากขึ้น พร้อมกับการเกิดระบบเงินตราแบบใหม่ (electric money)
3. ความล้มเหลวของเศรษฐกิจสวัสดิการที่รวมศูนย์อำนาจจากส่วนกลาง ไม่อาจตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
4. ภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการสังคมของรัฐ สูงขึ้น ต้องเพิ่มอัตราภาษี ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างกลุ่มผู้ทำงาน กับกลุ่มที่รัฐจะต้องเลี้ยงดู ทั้งยังมีการหนีงานของกรรมกร และชาวเกษตรกร พร้อมกับการเลี่ยงภาษี
สาเหตุของการล่มสลายของรัฐสวัสดิการเสรีทุนนิยม
1. กระแสความต้องการบริโภค และการ เลือกบริโภค พุ่งสูงขึ้น (Mass consumption) ทำให้รัฐไม่สามารถ ผลิตสินค้าและบริการ ให้เพียงพอ แก่ความต้องการของประชาชนได้ ในขณะที่การระดมทุนในภาคเอกชนทำให้การดำเนินธุรกิจ มีความคล่องตัว กว่าที่รัฐเคยทำ และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น
2. การแข่งขันการผลิต แบบ Assemblyline ซึ่งทำให้เกิด Mass production ซึ่งเอกชนสามารถทำได้หลากหลายกว่าที่รัฐเคยทำ สามารถผลิตสินค้าและบริการให้ประชาชนเลือกได้มากกว่า ในขณะที่รัฐมีแบบให้เลือกเพียงไม่กี่แบบ
3. ความรู้สึกในกรรมสิทธิ์ทางธุรกิจ ทำให้เกิดประดิษฐกรรม และการพัฒนาประดิษฐกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
4. ลัทธิปัจเจกชน (Individualism) กำลังได้รับความนิยม เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และ เครื่องอัตโนมัติ (Automation) ทำให้ลดการใช้แรงงานลง และตอบสนองความสามารถในระดับบุคคลได้ และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก
5. เกิดการแข่งขันกันในเขตการค้าเสรี (Free trade) ทำให้เอกชนได้รับเชิญให้เข้าไปร่วมกลุ่มกันมากขึ้น เฮือกสุดท้ายของทุนนิยม
การเกิด เขตตลาดการค้าเสรี (Free trade) และความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีการสื่อสาร และโทรคมนาคม ทำให้โลกทั้งโลกเป็นโลกที่ ไร้พรมแดน มากขึ้น การรวมกลุ่มทางธุรกิจทุนนิยมเริ่มขยายวงกว้างขึ้น โดยต่างก็มุ่ง ที่จะรักษาผลประโยชน์ภายในกลุ่มของตน Free trade มีจุดมุ่งหมาย เพื่อลดกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อให้เกิดเสรีภาพในการลงทุน การผลิต และการให้บริการ รวมทั้งเป็นการป้องกันสงครามที่จะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจาก ความขัดแย้งกันทางธุรกิจ Free trade จึงเป็นการ "รวมหัว" กันบริโภค ทรัพยากร ของโลกให้หมดไปโดยเร็ว
กลุ่มประเทศที่รวมกันเพื่อจัดตั้ง Free trade ได้แก่
1. กลุ่มประชาคมยุโรป (EC) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1989 จนถึงปี ค.ศ. 1992 กลุ่ม EC ได้บรรลุเป้าหมายสูงสุดในการเปิดตลาดเสรี คือทุกประเทศในกลุ่ม EC จะได้รับสิทธิพิเศษดังนี้
-จะไม่มีการตรวจสอบการผ่านแดน (โลกไร้พรมแดน)
-ไม่มีการเก็บภาษีทั้งขาเข้า ขาออก เพราะทุกประเทศในกลุ่ม EC ถือว่าเป็นประเทศทางธุรกิจเดียวกัน
-สินค้าเคลื่อนย้ายได้รวดเร็วขึ้น ไม่ต้องรอตรวจ ณ จุดผ่านแดน
-ใช้ระบบการเงินการธนาคารเดียวกัน
-ประชากรทุกคนมีเสรีภาพในการเลือกบริโภคอย่างหลากหลายมากขึ้น
-คนชั้นกลางจะกลายเป็นนายทุน
2. กลุ่มแนวร่วมการค้าเสรี ตามข้อตกลงว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT)
3. กลุ่มแนวร่วมการค้าเสรีแห่งอาเซียน (AFTA)
4. กลุ่มแนวร่วมการค้าเสรีแห่งอเมริกาเหนือ (NAFTA)
ทันทีที่ Free trade เกิดขึ้น เงาแห่งความกลัวที่จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบก็เกิดขึ้น นั่นคือ ในบางประเทศได้ตั้งนโยบายกีดกันสินค้าต่างชาติ Protection ขึ้น พร้อมกับการหวนกลับคืนมาของลัทธิชาตินิยม
บทเรียนสุดท้ายของโลกานุวัตร
ท่ามกลางความหลงใหลเพลิดเพลินในการเสพความสะดวกสบาย ความตายของทุน ก็เริ่มเข้ามา เพราะ Mass production และ Mass comsumption จะทำให้ ทุนจริง (real economy) หดหายไป ส่งผลให้เกิดการสะสมทุนและกำไรแบบใหม่ ที่โหดร้าย ผิดศีลธรรม นี่คืออันตรายของ ทุนปลอม นับเป็นจุดจบของระบบทุนนิยมที่ไม่สวยหรู เพราะได้ทิ้งปัญหา และความหมักหมมของมลพิษไปทั่วโลก วิกฤตการณ์แห่งการล่มสลายของระบบทุนนิยมกำลังก่อตัวขึ้นแล้ว เพื่อรอการปฏิวัติทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่เคยมีมา เพื่อการพัฒนา ไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียว ของเศรษฐกิจระดับโลก (Single Economy) ในรอบศตวรรณที่ 21

บทที่ 1 โลกานุวัตร กำเนิดทุนนิยม

ทุน
คือ หัวใจของระบบทุนนิยม ทุนเป็นที่มาของการปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติพลังการผลิต และการปฏิวัติทางสังคม ก่อให้เกิดพันธมิตรสงคราม การค้าอาวุธ และลัทธิชาตินิยม ทำให้เกิดการแข่งขัน การรวมกลุ่มเป็นประชาคมในระดับภูมิภาค ไปจนถึงระดับโลก ทุนจึงเป็นทรัพยากรโลกเพียงชนิดเดียวที่มีอิทธิพลเหนือสังคมมนุษย์โลก ประวัติศาสตร์โลกดำเนินไปเพราะการเปลี่ยนแปลงวิถีทางในการส ะสมทุน และขยายทุนนั่นเองมนุษย์เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมกับการมีกิเลส และเกิดมาเพื่อสะสมกิเลสให้กับตัวเอง เมื่อมาอยู่รวมกันเป็นสังคม ก็จะจัดระเบียบทางสังคม เศรษฐกิจ ขึ้นตามอำนาจกิเลสที่ตนมี ผู้ที่แข็งแรงกว่าย่อมได้เปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่า ผู้ที่ แข็งแรงและฉลาดจะได้เป็นผู้นำ เป็นเจ้าของทรัพย์สิน และเป็นเจ้าของอำนาจ จึงสร้างระบบการเมืองขึ้นมา ควบคุม และ เอาเปรียบมนุษย์ด้วยกันเองบทเรียนแรกแห่งการเข้าสู่กระแสโลกานุวัตร คือการกำเนิดขึ้นของระบบศักดินา และสมบูรณาญาสิทธิราช (ศตวรรษที่ 15 - 16) โดยที่เจ้าศักดินาเองจะเป็น ผู้กำหนดนโยบายการผลิต และการค้าด้วยตนเอง เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า วัตถุดิบ เงินทอง อำนาจ และศักดิ์ศรี นำไปสู่การบริโภค และการเผาผลาญทรัพยากรของโลก อย่างฟุ่มเฟือยในอนาคตเมื่อวัตถุดิบ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ในการผลิตหมดไปพร้อมจึงทำให้ระบบทุนนิยมดำเนินมาถึงจุดจบ และจะเกิดการปฏิวัติทางเศรษฐกิจทุนนินยมครั้งใหญ่อีกรอบหนึ่งภายใน ปี ค.ศ. 2000 จะเป็นการปฏิวัติพลังการผลิตท่ามกลางกองขยะและมลพิษที่กำลัง ท่วมท้นโลก เศรษกิจสังคมโลก จะอยู่ในภาวะวิกฤติตลอดเวลา เกิดสภาพไร้ระเบียบ (disorder) ไม่แน่นอน เป็นยุคกาลของระบบทุนนิยมที่พัฒนาไปสู่การล่มสลาย จะเรียกยุคนี้ว่า มิคคสัญญี ก็คงไม่ผิด ยุคโลกานุวัตร
เริ่มนับตั้งแต่ ศตวรรษที่ 15 มาจนถึงสิ้นสงครามโลก ได้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ ในศตวรรณที่ 18 และฝรั่งเศส โดยนายทุนศักดินา ผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต คือ ที่ดิน ทาส แรงงาน และเป็นเจ้าของชีวิตคน มีการคิดค้นเครื่องจักรไอน้ำแทนแรงงานคน ทำให้เกิดความต้องการวัตถุดิบและแรงงานมากขึ้น
2. ลัทธิพาณิชนิยม (Mercantilism) โดยนายทุนศักดินา เป็นการก้าวเข้าสู่ระบบการค้าระหว่างประเทศ ที่ต้องผลิตสินค้าออกขายให้มากที่สุด เป็นการสะสมทุน ความมั่งคั่ง เงิน และทองคำ ให้แก่ประเทศของตน พร้อมกับการสร้างกองทัพ สู่การล่าอาณานิคมและการค้าทาส เพื่อนำวัตถุดิบและทาสไปใช้ในการอุตสาหกรรมในประเทศของตน
3. ลัทธิเสรีนิยม (Liberallism) เกิดขึ้น จากนายทุนปัจเจกชน ในระดับล่าง ทีมิใช่ศักดินา ลัทธินี้ เชื่อว่ามนุษย์ มีความเท่าเทียมกัน มีสิทธิเสรีภาพเสมอกันได้ แต่เพราะอำนาจของรัฐมากดขี่ไว้มิให้ประชาชนคิด พูด หรือกระทำตามปราถนาได้ โดยเฉพาะการผลิตและการค้า รัฐจะต้องเปิดอย่างเสรี ปรากฏการณ์ที่แสดงถึงความเฟื่องฟูของลัทธิเสรีนิยม คือ
3.1 เสรีภาพทางการเมือง ที่จะคิด พูดเขียน รับรู้ข่าวสาร มีความเท่าเทียมกันในการใช้อำนาจทางการเมือง ด้วยการจำกัดหรือลดอำนาจของรัฐลง จัดให้มีการเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปบริหารประเทศ
3.2 เสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล เสรีภาพในการลงทุน สะสมทุน การแสวงหากำไร ความมั่งคั่ง และการบริโภค (ก้าวเข้าสู่ยุค Mass production) และ Mass comsumption) การเปิดตลาดแบบเสรี ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านการผลิต และการค้า ผู้ที่มีอำนาจกว่าย่อมได้เปรียบ
ผู้ด้อยอำนาจย่อมเสียเปรียบ ปราศจากการควบคุมจากรัฐ
การให้โอกาสในการประกอบธุรกิจแบบเสรีนี้ จะต้องอาศัยระบอบการปกครอง ที่เอื้อต่อ นักลงทุน นั่นคือระบอบประชาธิปไตย เพราะระบอบประชาธิปไตยจะไม่ใช้ความรุนแรง และเปิดให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการปกครองได้ แต่ข้อเท็จจริงแล้ว อำนาจมักจะตกอยู่แก่พ่อค้านายทุน นับเป็นวิถีทาง ในการปกครองที่เหมือนดูดี เหมือนมีความชอบธรรม แต่แฝงไปด้วยการฉ้อฉล และเอารัดเอาเปรียบอย่างเลือดเย็น จนยากที่ประชาชนจะรู้ทัน ดังนั้น วิถีทางประชาธิปไตย น่าจะจัดเข้าเป็น "ลัทธิล่าอาณานิคมใหม่" ของนายทุนต่างชาติ คือการเข้าแทรกแซงทางการเมือง และการค้าด้วยการซื้อพ่อค้า และนักการเมืองไทย หรือแม้กระทั่งซื้อรัฐบาล เพื่อตนจะได้เข้าไปตักตวงเงินทอง ทรัพยากร และความร่ำร่วย แล้วขนเอาไปที่เมืองแม่ของตน โดยประชาชนในประเทศเหล่านั้น ต้องตกอยู่ในภาวะยอมจำนน เนื่องจากประชาชนเอง ก็ถูกหลอกให้พึ่งพาอำนาจของเงิน และตกเป็นทาส ของลัทธิการบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย (Mass consumption) สร้างค่านิยมในด้านการกินอยู่ อย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ตามลัทธิเสรีภาพแบบอเมริกา (Pax americana)
4. ลัทธิสังคมนิยม (Socialism) ผลของความเฟื่องฟูจากลัทธิเสรีนิยม ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบระหว่างนายทุนกับกรรมกร รัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการจัดระบบทางเศรษฐกิจ และการเมืองใหม่ ด้วยการจำกัดเสรีภาพในการแข่งขัน และการเอารัดเอาเปรียบของนายทุน รัฐเป็นผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ และยึดปัจจัยการผลิตทั้งหมดมาเป็นของรัฐ แม้แต่กรรมกร ก็เป็นสมบัติของรัฐ ซึ่งต้องปฏิบัติตามคำสั่ง และแนวนโยบายของรัฐ แต่จะได้รับการเลี้ยงดูจากรัฐไปชั่วชีวิตเป็นการตอบแทน นี่คือการจัดตั้งเป็นรัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยม
5. ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) จัดเข้าเป็นลักษณะหนึ่งของเศรษฐกิจทุนนิยมก็เพราะว่า มีการสะสมทุน มีระบบการจัดการในการผลิตแบบทุนนิยม เพียงแต่รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต แทนที่จะเป็นเอกชน ดังที่ประเทศในค่ายโลกเสรีเขากระทำกัน การจัดการด้านการผลิตและการบริการ นั้นก็ใช้หลักการเดียวกับ หลักเศรษฐศาสตร์ทุนนิยม เพียงแต่โลกทัศน์ ของคนในประเทศ ค่ายคอมมิวนิสต์ ถูกจำกัดให้ไม่ต้องคิด ไม่ต้องดิ้นรนที่จะเสพ เพราะทุกคนมีความเสมอภาคกัน ลัทธิคอมมิวนิสต์ จะใช้นโยบายทางเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดทิศทางของการเมือง ดังจะเห็นได้จาก ตัวอย่างต่อไปนี้
5.1 นายทุนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กรรมกรเป็นผู้ใช้แรงงาน ทำให้นายทุนร่วมกันผูกขาดการสะสมทุนและกำไร สร้างความร่ำรวยให้แก่กลุ่มของตน ในขณะที่กรรมกรกลับถูกเอารัดเอาเปรียบและยากจนลง อันเป็นเงื่อนไขทำให้เกิดการปฏิวัติทางชนชั้นขึ้น
5.2 พรรมคอมมิวนิสต์ จะเป็นผู้กุมอำนาจเด็ดขาดทางการเมือง และทางเศรษฐกิจ
5.3 ทรัพยสินและปัจจัยการผลิตตกเป็นของรัฐ
6. สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1818) มีสาเหตุมาจากการต่อสู้ระหว่างกระแสชาตินิยม กับกระแสจักรวรรดินิยม-ทุนนิยม การค้าอาวุธสงคราม และการประลองพลังทางอาวุธ
7. สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1918 - 1945) มีสาเหตุมาจากการช่วงชิงเขตตลาดการค้า วัตถุดิบ และดินแดนที่สูญเสียไปนั้น กลับคืนมา ต้องการแข่งขันกันทางด้านอาวุธ และการแผ่ขยายลัทธิชาตินิยม หลังสงครมโลกครั้งที่ 1 ได้ เกิดลัทธิเผด็จการฟาสซิสต์ (อิตาลี) นาซี (เยอรมันนี) และจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อต้องการครอบครองโลกแต่เพียงกลุ่มเดียว ต้องการล้มล้างลัทธิเสรีนิยม และลัทธิคอมมิวนิสต์
ระเบียบโลกใหม่ Pax Americana หรือสันติภาพแบบอเมริกา เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลก เมื่อสงครามยุติลง ฝ่ายเผด็จการ ได้รับความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากที่สุด ตามด้วยประเทศคู่สงครามอื่น ๆ เว้นแต่สหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวที่ไม่ได้รับความสูญเสีย กลับผงาดขึ้นมา เป็นประเทศผู้นำในระดับโลก พร้อมกับการหาวิถีทางฉกฉวยผลประโยชน์ และทรัพยากรของประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศในโลกที่สาม ที่ยากจน แต่มากมายด้วยวัตถุดิบ ด้วยสายตาอันยาวไกล ดุจพญาอินทรี อเมริกาจึงถือโอกาสประกาศตน เป็นพี่เบิ้มทางเศรษฐกิจทุนนิยม และทำตัวเป็นตำรวจโลก ด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศยากจนทั้งหลาย ในรูปขององค์การต่าง ๆ ตั้งแต่ การิริ่มก่อตั้ง องค์การสหประชาชาติ ไปจนถึงองค์การที่ช่วยเหลือ ทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษ สาธารณูปโภค พร้อมกันนั้น ก็มีการฟื้นฟูลัทธิเสรีนิยมยม ขึ้นมาใหม่ เรียกว่าประชาธิปไตยมวลชน (Mass democracy) เพื่อนำมาเป็น เครื่องมือ ในการแผ่ขยาย ลัทธิระเบียบโลกใหม่ ตามแบบอเมริกา Pax Americana มีสาระสำคัญดังนี้
1. อเมริกาได้กลายเป็นศูนย์กลางของระบบเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของโลก ผูกขาดการลงทุนในทั่วภูมิภาคตของโลก โดยบรรษัทข้ามชาติของมหาอำนาจทุนนิยม
2. ฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกใหม่ หลังสงครามโลก ในยุโรปตะวันตก (เยอรมันนี) และญี่ปุ่น ด้วยการระดมทุนช่วยเหลือจากอเมริกา (จ่ายก่อน ทวงคืนภายหลัง)
3. สร้างฐานทัพ และรัฐทหารขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยอยู่ในความดูแลของอเมริกา เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน และกีดกันการแผ่ขยายของลัทธิสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ตลอดจนสะกัดกั้นสงครามปลดปล่อยประชาชาติในประเทศโลกที่สาม (1955 - 1960)
4. สร้างศูนย์อารยธรรมทุนนิยม คือ การจัดให้มีรัฐสวัสดิการ แบบอเมริกา ประชาธิปไตยมวลชน (Mass democracy) การผลิตให้ได้คราวละมาก ๆ (Mass production) และ การบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย (Mss consumption) ทำให้เกิดการทำลาย ทรัพยากรของโลกในทุกภูมิภาค อย่างมหาศาล
5. เกิดสงครามเย็น อันเป็นการรักษาดุลอำนาจ ระหว่างประเทศใน ค่ายโลกเสรี (อเมริกา) และประเทศในค่ายสังคมนิยม (รัสเซีย) นำไปสู่การพัฒนา และการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ ครั้งใหญ่
6. เปลี่ยจากลัทธิล่าเมืองขึน มาเป็น "รัฐทุนนิยม" ภายใต้ข้อกำหนดและแผนพัฒนาประเทศที่อเมริกานำเสนอ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และขบวนการในการสะสมทุน ขยายทุน และการแสวงหากำไร ของมหาอำนาจทุนนิยม รัฐทุนนิยมจึงเป็นรัฐที่เปรียบเสมือนรัฐเจ้าหนี้ และรัฐลูกหนี้ที่พึงกระทำต่อกัน เช่น
-การให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน โดยผ่านธนาคารโลก (World Bank) กับกองทุนการเงินระหว่างประะทศ (IMF)
-การให้ความช่วยเหลือทางด้านการค้า ด้านการสาธารณูปโภค ด้านการศึกษา ตามแบบที่อเมริกากำหนด

Tuesday, June 21, 2011

เจ้าของเบนซ์ภูเก็ตผูกคอตายริมหาดไม้ขาว - MCOT 03 พ.ค. 2552

เจ้าของเบนซ์ภูเก็ตผูกคอตายริมหาดไม้ขาว
ภูเก็ต 3 พ.ค.-เจ้าของบริษัทรถยนต์เบนซ์ภูเก็ตผูกคอตายใต้ต้นไม้ริมชายหาดไม้ขาว คาดสาเหตุเกิดจากความเครียดเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจตำรวจสถานีตำรวจภูธรท่าฉัตรไชย ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ได้รับแจ้งจากชาวบ้านที่ไปหาปลาในบริเวณชายหาดไม้ขาว ว่าพบรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ หมายเลขทะเบียน กต-5288 ภูเก็ต สีน้ำเงิน จอดอยู่อย่างผิดปกติ โดยไม่พบตัวเจ้าของรถ จึงเดินทางมาตรวจสอบยังที่เกิดเหตุ พบว่าห่างจากบริเวณที่รถจอดไปประมาณ 20 เมตร มีศพนายแมน สุขสวี อายุ 49 ปี เจ้าของบริษัทรถยนต์เบนซ์ ภูเก็ต จำกัด และยังเป็นนักธุรกิจรายใหญ่ชื่อดังในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ ผูกคอตายอยู่กับต้นไม้ใหญ่
ชาวบ้านเล่าว่า เห็นรถคันดังกล่าวจอดอยู่ตั้งแต่เมื่อวานนี้ จนกระทั่งถึงช่วงเช้าก็ยังพบรถจอดอยู่ในที่เดิมอย่างผิดสังเกต จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาตรวจสอบ ซึ่งตำรวจไม่พบร่องรอยการต่อสู้ ส่วนสภาพศพก็ไม่พบบาดแผลใด ๆ เบื้องต้นสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นการผูกคอตาย จากปัญหาความเครียดเรื่องธุรกิจ เนื่องจากผู้ตายเคยพบวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 จนธุรกิจขาดทุน เหลือกิจการอยู่เพียง 2 แห่ง เมื่อต้องมาเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่ จึงทนแบกรับความกดดันต่อไปไม่ไหว.-สำนักข่าวไทยอัพเดตเมื่อ 2009-05-03 04:16:17